วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

โปรแกรมมัลติมิเดีย บทที่1 การถ่ายทอดแนวคิดสู่ชิ้นงาน

หน่วยที่ 1 การถ่ายทอดแนวคิดสู่ชิ้นงาน

ความหมายของสตอรี่บอร์ด
         สตอรี่บอร์ด คือ การเขียนภาพหรือข้อความเพื่อกำหนดแนวทางในการสร้างชิ้นงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ การ์ตูน เป็นต้น ทั้งนี้เพราะเป็นการกำหนดลำดับ การเล่าเรื่องและการกำหนดเวลา โดยที่การวาดภาพในสตอรี่บอร์ดนั้นไม่จำเป็นต้องละเอียดมาก แต่ต้องบอกองค์ประกอบสำคัญ ๆ ได้ ลักษณะจะคล้ายกับการวาดการ์ตูนในกรอบสี่เหลี่ยม
ส่วนประกอบของสตอรี่บอร์ด
         สตอรี่บอร์ดจะประกอบไปด้วยชุดของภาพร่างพร้อมทั้งคำบรรยายหรือบทสนทนาซึ่งอาจจะเขียนเรื่องย่อและบทไปก่อน หรือวาดภาพร่างก่อนก็ได้ โดยอาจจะมีบทสนทนาหรือไม่มีก็ได้ สำหรับการใส่เสียงลงในแต่ละภาพต้องพิจารณาก่อนว่าภาพและเสียงนั้นเข้ากันได้หรือไม่












แนวทางในการเขียนสตอรี่บอร์ด
         ประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเขียนบทก็คือต้องกำหนดให้ได้ว่า เราอยากจะนำเสนออะไร มีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งเหล่านั้นก็จะถูกนำไปใช้ในการกำหนดเรื่องราวในสตอรี่บอร์ด ขั้นแรกควรศึกษาหลักการเขียนเนื้อเรื่อง บทบรรยาย ศิลปะในการเล่าเรื่อง เพราะไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย หรือภาพยนตร์ ก็ล้วนมีลักษณะการเล่าเรื่องคล้าย ๆ กัน โดยองค์ประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา

เทคนิคการเขียนสตอรี่บอร์ด         1.  ต้องมีการบรรยายสภาพ การอธิบาย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นภาพของฉากที่เราวาดด้วยตัวอักษรให้ชัดเจน         2.  ควรวางโครงเรื่องให้มีลำดับการดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนถึงปลายยอดเรื่องหรือที่เรียกว่า โคลแมกซ์ และผู้อ่านจะต้องเข้าใจเนื้อหาของเรื่อง         3.  จัดวางบทบาทของตัวละครที่สำคัญในเรื่อง เพื่อให้แสดงลักษณะที่ก่อให้เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ขึ้น         4.  การบรรยายเรื่อง ควรเป็นการบรรยายแบบบุคคลที่สาม เช่น ตัวละครแสดงบทบาทของตนเอง จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด         5.  การเปิดเรื่องการเปิดเรื่อง อาจใช้วิธีให้ตัวละครสนทนากัน โดยบรรยายตัวละครประกอบ รวมถึงพฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัว อาจใช้วิธีให้ตัวละครสนทนากัน โดยบรรยายตัวละครประกอบ รวมถึงพฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัว

การจัดทำสตอรี่บอร์ด         การทำสตอรี่บอร์ดเป็นการสร้างตารางขึ้นมาเพื่อร่างภาพลงไปตามลำดับขั้นตอนของเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมของงานที่จะลงมือทำ และถ้าต้องการมีการแก้ไข ก็จะสามารถลงมือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ทันที หรือทำสตอรี่บอร์ดใหม่ก็ได้ สตอรี่บอร์ดนั้นจะเป็นต้นแบบของการสร้างภาพจริงและเป็นตัวกำหนดการทำงานในขั้นตอนอื่น ๆ













ขั้นตอนการทำสตอรี่บอร์ด
         1.  วางโครงเรื่องหลัก เช่น แนวเรื่อง ฉาก เนื้อเรื่องย่อ ตัวละคร         2.  ลำดับเหตุการณ์คร่าว ๆ โดยที่เหตุการณ์ต่าง ๆ ต้องเป็นเหตุเป็นผลกันซึ่งกันและกัน และเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง         3.  กำหนดหน้า         4.  แต่งบท โดยเขียนบทพูดออกมาโดยละเอียด         5.  ลงมือเขียนสตอรี่บอร์ด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ระบบปฏิบัติการเบื้องต้น หน่วยที่5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้

หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้ หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้    โปรแกรม  Nero Burning Rom 11   Nero Burning ...